ทำความรู้จักกับ Social Commerce คืออะไร สำคัญอย่างไร ใช้ทำการตลาดและธุรกิจอย่างไรได้บ้าง ต่างกับการทำ E-Marketplace อย่างไร [บทความนี้มีคำตอบ]
สำหรับในยุคนี้ที่โลกออนไลน์กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คนไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการใช้เพื่อทำงาน การสื่อสาร การซื้อขาย หรือสร้างความเพลิดเพลิน ก็ล้วนแต่อยู่ในโลกออนไลน์กันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น ในภาคของธุรกิจเองก็ควรที่จะปรับตัวเพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้ามากขึ้น จากการขายแค่หน้าร้านก็จำเป็นจะต้องกระโดดเข้ามาทำความรู้จักกับช่องทางออนไลน์บ้าง
อย่างในวันนี้ที่ The Omelet จะมาแนะนำให้รู้จักกันอีกหนึ่งช่องทางอย่าง Social Commerce ที่หลายธุรกิจให้ความสำคัญในการทำการตลาดและการขายเป็นอย่างมาก ว่าแต่ Social Commerce คืออะไร ต่างจาก E-Marketplace อย่างไร ทำไมต้องให้ความสำคัญ และมีช่องทางไหนบ้างที่น่าสนใจสำหรับทำ Social Commerce ตามไปดูพร้อมๆ กันเลย
Social Commerce คืออะไร
Social Commerce คือ ระบบการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านแพลตฟอร์มบนโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นบนแพลตฟอร์มใดก็ตาม ทั้ง Facebook, Instagram, Twitter, TikTok หรืออื่นใดก็ตามที่มีความเป็นโซเชียลมีเดีย โดยธุรกิจสามารถใช้แพลตฟอร์มเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความอยากและการซื้อเกิดขึ้น และเมื่อลูกค้าต้องการซื้อสินค้าก็สามารถที่จะกดเลือกสินค้าบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียได้ทันทีโดยที่ไม่ต้องออกจากแพลตฟอร์มนั้นๆ เลยแม้แต่น้อย
Social Commerce ต่างจาก E-Marketplace อย่างไร
Social Commerce และ E-Marketplace จะเป็นช่องทางในการขายของออนไลน์เหมือนกัน แต่จะแตกต่างกันอยู่ตรงที่ Social Commerce เป็นการซื้อขายสินค้ากันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ผ่านทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ในลักษณะร้านเดียวและสินค้ามีความเฉพาะเจาะจงกว่า จากการเปิดช่องทางโซเชียลมีเดียแค่ Account เดียวในการขายสินค้าบางประเภท หรืออาจจะทำการเปิดบัญชีในหลายๆ แพลตฟอร์มเพื่อขายสินค้าเดียวกันก็ได้เช่นกัน
ส่วน E-Marketplace จะเป็นเหมือนตลาดนัดที่เป็นแหล่งรวมสินค้าหลายชนิด ไม่จำเป็นต้องลงทุนสร้างเว็บ หรือทำร้านค้าออนไลน์เอง ใช้รูปแบบร้านค้าในแพลตฟอร์มของ E-Marketplace ได้เลย แต่ก็จะต้องต่อสู้กับคู่แข่งที่นำสินค้ามาลงไว้ใน E-Marketplace ด้วยเพื่อที่จะขึ้นอันดับที่ช่วยทำให้คนค้นหาเจอง่ายขึ้น
ประเภทของ Social Commerce
Social Commerce แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่
- Peer-to-peer Commerce
เป็นรูปแบบของการการซื้อขายระหว่างคน 2 คน โดยทั่วไป จะหมายถึงการซื้อขายแบบผู้บริโภคถึงผู้บริโภค (C2C) ไม่ใช่คนกับแบรนด์หรือธุรกิจ และโดยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นโดยมีแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Social Media มาเป็นตัวกลางเพื่อให้ผู้บริโภคทั้งสองฝ่าย ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายได้มาเจอกัน
- Conversational Commerce
เป็นรูปแบบการซื้อขายผ่านช่องทางแช็ตบนโซเชียลมีเดียเป็นหลัก โดยไม่ใช่แค่การแช็ตพูดคุยแบบ 1 ต่อ 1 เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการ CF สินค้าผ่านช่องทางการ LIVE สด โดยจะครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการพูดคุยกับแบรนด์ หรือผู้ขายผ่านการแชตออนไลน์หรือ Chatbot ไปจนถึงขั้นตอนหลังปิดการขายไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
- Group Buying
เป็นรูปแบบการซื้อที่ผู้บริโภครวมตัวกันเพื่อซื้อสินค้าในปริมาณมากๆ ทำให้ได้ราคาส่ง หรือในฝั่งของธุรกิจเองอาจจะใช้วิธีการมอบลดราคาสินค้าให้ลูกค้า ด้วยเงื่อนไขที่ลูกค้านั้นจะต้องซื้อสินค้าและชวนเพื่อนคนอื่นมาซื้อด้วยกันเป็นกลุ่มซึ่งหากซื้อคนเดียว ลูกค้าจะไม่ได้ส่วนลดพิเศษนั้นๆ ไป
ทำไมแบรนด์จึงให้ความสำคัญกับการทำ Social Commerce
เหตุผลที่แบรนด์ให้ความสำคัญกับการใช้ Social Commerce มีมากมายหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น…
- เพิ่มช่องทางในการเข้าถึงลูกค้าและการจัดจำหน่าย
เนื่องจากในปัจจุบันนี้ Social Media ต่างก็พากันพัฒนาให้แพลตฟอร์มของตนเองสามารถทำ Social Commerce หรือการซื้อขายของได้สะดวกมากขึ้น จนสามารถทักสอบถาม เลือกสินค้า และจ่ายเงินจบได้แล้วในที่เดียว จึงทำให้ธุรกิจมีโอกาสในการเข้าถึงลูกค้าและจำหน่ายสินค้าได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมที่ลูกค้าจะต้องเข้ามาเลือกซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ และทักมาสอบถามในช่องแช็ตอีกทีหนึ่ง
- โต้ตอบกับลูกค้าได้ในทันที
แบรนด์สามารถดูแลลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นจากการโต้ตอบกับลูกค้าได้อย่างทันท่วงที ไม่ต้องทิ้งให้ลูกค้ารอการตอบกลับนาน เนื่องจากในปัจจุบัน Social Commerce มีฟีเจอร์และลูกเล่นที่ช่วยโต้ตอบกับลูกค้าแทนแบบอัตโนมัติได้แล้ว เช่น การใช้ Chatbot ที่ทำหน้าที่แทนแอดมินในการตอบคำถามลูกค้า, การทำ Rich Menu ที่กดแล้วเลือกดูข้อมูลเองได้โดยไม่ต้องทำการสอบถาม เป็นต้น
- ทำให้กลุ่มเป้าหมายเห็นสินค้าแล้วรู้สึกอยากซื้อได้ง่าย
เพราะช่องทางการสอบถามและการกดสั่งซื้อสินค้าเชื่อมต่อถึงกัน ทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีในการเลือกซื้อและทำการจ่ายเงินได้เลย จึงเพิ่มโอกาสที่ลูกค้าจะเห็นสินค้าแล้วทำการซื้อสินค้านั้นได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
- เปิดโอกาสในการทำ Personalization Marketing ให้ดีขึ้น
เพราะการทำ Social Commerce จะช่วยให้ธุรกิจได้ฐานข้อมูลของลูกค้ามาไว้ในมือ หากทำการจัดระบบ และมีเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนที่ดีพอ ก็จะทำให้ได้ Insight มาทำ Personalization Marketing หรือการตลาดเฉพาะบุคคลที่สามารถส่งสิทธิพิเศษต่างๆ ที่เหมาะสมให้กับลูกค้าได้ดีขึ้น เช่น ทำการแจ้งเตือนโปรโมชันดีๆ ในวันเกิด, ทำการนำเสนอสินค้าและบริการที่ลูกค้ากำลังมองหาได้พอดี ฯลฯ
- เพิ่มอำนาจต่อรองจากทาง E-Marketplace
การใช้งาน E-Marketplace ในบางครั้งอาจทำให้ธุรกิจสูญเสียอำนาจในการต่อรองกับลูกค้าไปได้ เช่น หากทาง E-Marketplace จัดกิจกรรมแจกโค้ดส่วนลด แล้วทางร้านไม่ได้เข้าร่วมแคมเปญนั้นๆ ก็อาจจะไม่สามารถดึงดูดใจลูกค้าให้เข้ามาซื้อสินค้าได้ ดังนั้น การขยับขยายมาขายสินค้าผ่าน Social Commerce จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยลดการแข่งขันที่ดุเดือดในด้านการลดราคาจาก E-Marketplace ซึ่งอาจทำให้ธุรกิจสูญเสียตัวตนจากการพยายามปรับตัวให้สอดคล้องกับการทำการตลาดบน E-Marketplace มากจนเกินไปได้
- เป็นการทำ Omnichannel อีกหนึ่งช่องทาง
Omnichannel คือวิธีการสร้างประสบการณ์แบบไร้รอยต่อให้กับลูกค้าโดยการทำให้ทุกช่องทางที่ธุรกิจสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ ซึ่งการทำ Social Commerce ที่มีประสิทธิภาพจะต้องทำการเชื่อมฐานข้อมูลของลูกค้าไว้ในที่เดียวกันอย่างเป็นระบบ เพื่อทำให้ธุรกิจรู้ว่า ในแต่ละแพลตฟอร์มลูกค้าทำกิจกรรมอะไรบ้าง สนใจอะไร ชอบอะไร และจะได้ตอบคำถามหรือนำเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการได้อย่างตรงจุดนั่นเอง
แนะนำแพลตฟอร์มที่นิยมในการทำ Social Commerce
Facebook ถือเป็นแพลตฟอร์ม Social Commerce ยอดนิยมเลยก็ว่าได้ เพราะมีฟีเจอร์ให้เลือกใช้บริการหลากหลาย ทั้งการทำ Facebook Page, Facebook Marketplace, การใช้ฟีเจอร์ Chatbot ของ Facebook หรือแม้กระทั่งการประยุกต์ใช้ Facebook LIVE ซึ่งปกติแล้วไม่ได้ออกแบบมาใช้ในการค้าขาย แต่ธุรกิจในไทยสามารถนำช่องทางการ LIVE มาใช้ในการขายของได้ดีมาก เนื่องจากการ LIVE สามารถสาธิตให้เห็นคุณสมบัติของสินค้า เพื่อช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อง่ายขึ้น
Instagram เองก็มีฟีเจอร์สำหรับการทำ Social Commerce นั่นคือ Instagram Shopping ที่ช่วยให้ผู้คนสามารถเลือกซื้อสินค้าจากรูปภาพและวิดีโอของแบรนด์คุณบน Instagram ได้อย่างง่ายดายโดยผู้ใช้ไม่ต้องออกจากแอปพลิเคชันไปยังแพลตฟอร์มอื่น หรือจะประยุกต์ใช้ Instagram Stories Highlights/ทำโพลแบบสอบถามใน IG Stories/Instagram Live ในการขายของก็ได้เช่นเดียวกัน
- LINE Official Account
ที่มาภาพ : LINE OA ของ BABY MOBY
การทำ Social Commerce บน LINE OA หรือ LINE Official Account ก็ได้รับความนิยมเช่นกัน เนื่องจาก LINE ได้ทำการพัฒนาฟีเจอร์ MyShop ที่ตอบโจทย์ในการทำธุรกิจโดยเฉพาะระบบ E-commerce ให้ลูกค้าเลือกซื้อสินค้าและกดชำระเงินได้ ซึ่งเมื่อนำมาใช้ร่วมกันกับ Rich Menu ซึ่งเป็นเหมือนปุ่มนำทางบนหน้าแช็ตของ LINE OA ด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้การสอบถามและซื้อขายสินค้าในแพลตฟอร์ม LINE เชื่อมต่อถึงกันได้มากขึ้นด้วย
สรุป
จะเห็นว่า Social media เป็นช่องทางที่มีประสิทธิภาพสำหรับคนทำธุรกิจเป็นอย่างมาก เพราะถือเป็นช่องทางแรกๆ ที่ทำให้หลายคนนึกถึงเมื่อพูดถึง “การขายของออนไลน์” ซึ่งในปัจจุบันก็มีการปรับปรุงและพัฒนาช่องทางนี้ให้สนับสนุนต่อการขายของได้มากขึ้นกว่าแต่ก่อน ดังนั้น ใครที่กำลังสนใจจะบุกตลาดฝั่งโซเชียลมีเดียพลาดไม่ได้เลยที่จะใช้ Social Commerce ในการทำการตลาด กระตุ้นการซื้อขาย ไปจนถึงขั้นสร้างโอกาสการเกิด Conversion ให้กับธุรกิจ ลองดูรูปแบบบริการของ Social Commerce ที่เหมาะสมแล้วเลือกใช้ให้เต็มที่ รับรองว่า ช่องทางเหล่านี้จะช่วยสร้างกำไรให้กับธุรกิจได้อย่างแน่นอน
คุณสนใจใช้ LINE Official Account เพื่อทำ Social Commerce อยู่หรือเปล่า?
สำหรับใครที่ต้องการเลือกเริ่มต้นทำ Social Commerce บนช่องทางออนไลน์ยอดนิยมอย่าง LINE OA เราพร้อมให้คำปรึกษา ออกแบบ และวางแผนการใช้ LINE OA เพื่อธุรกิจ หากสนใจปรึกษาเราก่อนตัดสินใจ สามารถทักมาได้เลยที่ :