Social Commerce คืออะไร ทำไมหลายแบรนด์ถึงให้ความสำคัญ

Online Platform  CX Design
Social Commerce

ทำความรู้จักกับ Social Commerce คืออะไร สำคัญอย่างไร ใช้ทำการตลาดและธุรกิจอย่างไรได้บ้าง ต่างกับการทำ E-Marketplace อย่างไร [บทความนี้มีคำตอบ]

Social Commerce คือ

สำหรับในยุคนี้ที่โลกออนไลน์กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คนไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการใช้เพื่อทำงาน การสื่อสาร การซื้อขาย หรือสร้างความเพลิดเพลิน ก็ล้วนแต่อยู่ในโลกออนไลน์กันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น ในภาคของธุรกิจเองก็ควรที่จะปรับตัวเพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้ามากขึ้น จากการขายแค่หน้าร้านก็จำเป็นจะต้องกระโดดเข้ามาทำความรู้จักกับช่องทางออนไลน์บ้าง 

อย่างในวันนี้ที่ The Omelet จะมาแนะนำให้รู้จักกันอีกหนึ่งช่องทางอย่าง Social Commerce ที่หลายธุรกิจให้ความสำคัญในการทำการตลาดและการขายเป็นอย่างมาก ว่าแต่ Social Commerce คืออะไร ต่างจาก E-Marketplace อย่างไร ทำไมต้องให้ความสำคัญ และมีช่องทางไหนบ้างที่น่าสนใจสำหรับทำ Social Commerce ตามไปดูพร้อมๆ กันเลย

Social Commerce คืออะไร

Social Commerce คือ ระบบการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านแพลตฟอร์มบนโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นบนแพลตฟอร์มใดก็ตาม ทั้ง Facebook, Instagram, Twitter, TikTok หรืออื่นใดก็ตามที่มีความเป็นโซเชียลมีเดีย โดยธุรกิจสามารถใช้แพลตฟอร์มเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความอยากและการซื้อเกิดขึ้น และเมื่อลูกค้าต้องการซื้อสินค้าก็สามารถที่จะกดเลือกสินค้าบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียได้ทันทีโดยที่ไม่ต้องออกจากแพลตฟอร์มนั้นๆ เลยแม้แต่น้อย

Social Commerce ต่างจาก E-Marketplace อย่างไร

Social Commerce และ E-Marketplace จะเป็นช่องทางในการขายของออนไลน์เหมือนกัน แต่จะแตกต่างกันอยู่ตรงที่ Social Commerce เป็นการซื้อขายสินค้ากันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ผ่านทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ในลักษณะร้านเดียวและสินค้ามีความเฉพาะเจาะจงกว่า จากการเปิดช่องทางโซเชียลมีเดียแค่ Account เดียวในการขายสินค้าบางประเภท หรืออาจจะทำการเปิดบัญชีในหลายๆ แพลตฟอร์มเพื่อขายสินค้าเดียวกันก็ได้เช่นกัน

ส่วน E-Marketplace จะเป็นเหมือนตลาดนัดที่เป็นแหล่งรวมสินค้าหลายชนิด ไม่จำเป็นต้องลงทุนสร้างเว็บ หรือทำร้านค้าออนไลน์เอง ใช้รูปแบบร้านค้าในแพลตฟอร์มของ  E-Marketplace ได้เลย แต่ก็จะต้องต่อสู้กับคู่แข่งที่นำสินค้ามาลงไว้ใน E-Marketplace ด้วยเพื่อที่จะขึ้นอันดับที่ช่วยทำให้คนค้นหาเจอง่ายขึ้น

ประเภทของ Social Commerce

Social Commerce แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่

  • Peer-to-peer Commerce 

เป็นรูปแบบของการการซื้อขายระหว่างคน 2 คน โดยทั่วไป จะหมายถึงการซื้อขายแบบผู้บริโภคถึงผู้บริโภค (C2C) ไม่ใช่คนกับแบรนด์หรือธุรกิจ และโดยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นโดยมีแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Social Media มาเป็นตัวกลางเพื่อให้ผู้บริโภคทั้งสองฝ่าย ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายได้มาเจอกัน 

  • Conversational Commerce

เป็นรูปแบบการซื้อขายผ่านช่องทางแช็ตบนโซเชียลมีเดียเป็นหลัก โดยไม่ใช่แค่การแช็ตพูดคุยแบบ 1 ต่อ 1 เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการ CF สินค้าผ่านช่องทางการ LIVE สด โดยจะครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการพูดคุยกับแบรนด์ หรือผู้ขายผ่านการแชตออนไลน์หรือ Chatbot ไปจนถึงขั้นตอนหลังปิดการขายไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

  • Group Buying

เป็นรูปแบบการซื้อที่ผู้บริโภครวมตัวกันเพื่อซื้อสินค้าในปริมาณมากๆ ทำให้ได้ราคาส่ง หรือในฝั่งของธุรกิจเองอาจจะใช้วิธีการมอบลดราคาสินค้าให้ลูกค้า ด้วยเงื่อนไขที่ลูกค้านั้นจะต้องซื้อสินค้าและชวนเพื่อนคนอื่นมาซื้อด้วยกันเป็นกลุ่มซึ่งหากซื้อคนเดียว ลูกค้าจะไม่ได้ส่วนลดพิเศษนั้นๆ ไป

ทำไมแบรนด์จึงให้ความสำคัญกับการทำ Social Commerce

เหตุผลที่แบรนด์ให้ความสำคัญกับการใช้ Social Commerce มีมากมายหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น…

  • เพิ่มช่องทางในการเข้าถึงลูกค้าและการจัดจำหน่าย

เนื่องจากในปัจจุบันนี้ Social Media ต่างก็พากันพัฒนาให้แพลตฟอร์มของตนเองสามารถทำ Social Commerce หรือการซื้อขายของได้สะดวกมากขึ้น จนสามารถทักสอบถาม เลือกสินค้า และจ่ายเงินจบได้แล้วในที่เดียว จึงทำให้ธุรกิจมีโอกาสในการเข้าถึงลูกค้าและจำหน่ายสินค้าได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมที่ลูกค้าจะต้องเข้ามาเลือกซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ และทักมาสอบถามในช่องแช็ตอีกทีหนึ่ง

  • โต้ตอบกับลูกค้าได้ในทันที

แบรนด์สามารถดูแลลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นจากการโต้ตอบกับลูกค้าได้อย่างทันท่วงที ไม่ต้องทิ้งให้ลูกค้ารอการตอบกลับนาน เนื่องจากในปัจจุบัน  Social Commerce มีฟีเจอร์และลูกเล่นที่ช่วยโต้ตอบกับลูกค้าแทนแบบอัตโนมัติได้แล้ว เช่น การใช้ Chatbot ที่ทำหน้าที่แทนแอดมินในการตอบคำถามลูกค้า, การทำ Rich Menu ที่กดแล้วเลือกดูข้อมูลเองได้โดยไม่ต้องทำการสอบถาม เป็นต้น

  • ทำให้กลุ่มเป้าหมายเห็นสินค้าแล้วรู้สึกอยากซื้อได้ง่าย

เพราะช่องทางการสอบถามและการกดสั่งซื้อสินค้าเชื่อมต่อถึงกัน ทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีในการเลือกซื้อและทำการจ่ายเงินได้เลย จึงเพิ่มโอกาสที่ลูกค้าจะเห็นสินค้าแล้วทำการซื้อสินค้านั้นได้ง่ายมากยิ่งขึ้น 

  • เปิดโอกาสในการทำ Personalization Marketing ให้ดีขึ้น

เพราะการทำ Social Commerce จะช่วยให้ธุรกิจได้ฐานข้อมูลของลูกค้ามาไว้ในมือ หากทำการจัดระบบ และมีเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนที่ดีพอ ก็จะทำให้ได้ Insight มาทำ Personalization Marketing หรือการตลาดเฉพาะบุคคลที่สามารถส่งสิทธิพิเศษต่างๆ ที่เหมาะสมให้กับลูกค้าได้ดีขึ้น เช่น ทำการแจ้งเตือนโปรโมชันดีๆ ในวันเกิด, ทำการนำเสนอสินค้าและบริการที่ลูกค้ากำลังมองหาได้พอดี ฯลฯ

  • เพิ่มอำนาจต่อรองจากทาง E-Marketplace 

การใช้งาน E-Marketplace ในบางครั้งอาจทำให้ธุรกิจสูญเสียอำนาจในการต่อรองกับลูกค้าไปได้ เช่น หากทาง E-Marketplace จัดกิจกรรมแจกโค้ดส่วนลด แล้วทางร้านไม่ได้เข้าร่วมแคมเปญนั้นๆ ก็อาจจะไม่สามารถดึงดูดใจลูกค้าให้เข้ามาซื้อสินค้าได้ ดังนั้น การขยับขยายมาขายสินค้าผ่าน Social Commerce จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยลดการแข่งขันที่ดุเดือดในด้านการลดราคาจาก E-Marketplace ซึ่งอาจทำให้ธุรกิจสูญเสียตัวตนจากการพยายามปรับตัวให้สอดคล้องกับการทำการตลาดบน  E-Marketplace มากจนเกินไปได้

  • เป็นการทำ Omnichannel อีกหนึ่งช่องทาง

Omnichannel คือวิธีการสร้างประสบการณ์แบบไร้รอยต่อให้กับลูกค้าโดยการทำให้ทุกช่องทางที่ธุรกิจสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ ซึ่งการทำ Social Commerce ที่มีประสิทธิภาพจะต้องทำการเชื่อมฐานข้อมูลของลูกค้าไว้ในที่เดียวกันอย่างเป็นระบบ เพื่อทำให้ธุรกิจรู้ว่า ในแต่ละแพลตฟอร์มลูกค้าทำกิจกรรมอะไรบ้าง สนใจอะไร ชอบอะไร และจะได้ตอบคำถามหรือนำเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการได้อย่างตรงจุดนั่นเอง 

แนะนำแพลตฟอร์มที่นิยมในการทำ Social Commerce

  • Facebook

Facebook ถือเป็นแพลตฟอร์ม Social Commerce ยอดนิยมเลยก็ว่าได้  เพราะมีฟีเจอร์ให้เลือกใช้บริการหลากหลาย ทั้งการทำ Facebook Page, Facebook Marketplace, การใช้ฟีเจอร์ Chatbot ของ Facebook หรือแม้กระทั่งการประยุกต์ใช้ Facebook LIVE ซึ่งปกติแล้วไม่ได้ออกแบบมาใช้ในการค้าขาย แต่ธุรกิจในไทยสามารถนำช่องทางการ LIVE มาใช้ในการขายของได้ดีมาก เนื่องจากการ LIVE สามารถสาธิตให้เห็นคุณสมบัติของสินค้า เพื่อช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อง่ายขึ้น 

  • Instagram 
ที่มาภาพ : https://www.socialmediatoday.com/

Instagram เองก็มีฟีเจอร์สำหรับการทำ Social Commerce นั่นคือ Instagram Shopping ที่ช่วยให้ผู้คนสามารถเลือกซื้อสินค้าจากรูปภาพและวิดีโอของแบรนด์คุณบน Instagram ได้อย่างง่ายดายโดยผู้ใช้ไม่ต้องออกจากแอปพลิเคชันไปยังแพลตฟอร์มอื่น หรือจะประยุกต์ใช้ Instagram Stories Highlights/ทำโพลแบบสอบถามใน IG Stories/Instagram Live ในการขายของก็ได้เช่นเดียวกัน

  • LINE Official Account 

ที่มาภาพ : LINE OA ของ BABY MOBY

การทำ Social Commerce บน LINE OA หรือ LINE Official Account ก็ได้รับความนิยมเช่นกัน เนื่องจาก LINE ได้ทำการพัฒนาฟีเจอร์ MyShop ที่ตอบโจทย์ในการทำธุรกิจโดยเฉพาะระบบ E-commerce ให้ลูกค้าเลือกซื้อสินค้าและกดชำระเงินได้ ซึ่งเมื่อนำมาใช้ร่วมกันกับ Rich Menu ซึ่งเป็นเหมือนปุ่มนำทางบนหน้าแช็ตของ LINE OA ด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้การสอบถามและซื้อขายสินค้าในแพลตฟอร์ม LINE เชื่อมต่อถึงกันได้มากขึ้นด้วย

สรุป

จะเห็นว่า Social media เป็นช่องทางที่มีประสิทธิภาพสำหรับคนทำธุรกิจเป็นอย่างมาก เพราะถือเป็นช่องทางแรกๆ ที่ทำให้หลายคนนึกถึงเมื่อพูดถึง “การขายของออนไลน์” ซึ่งในปัจจุบันก็มีการปรับปรุงและพัฒนาช่องทางนี้ให้สนับสนุนต่อการขายของได้มากขึ้นกว่าแต่ก่อน ดังนั้น ใครที่กำลังสนใจจะบุกตลาดฝั่งโซเชียลมีเดียพลาดไม่ได้เลยที่จะใช้ Social Commerce ในการทำการตลาด กระตุ้นการซื้อขาย ไปจนถึงขั้นสร้างโอกาสการเกิด Conversion ให้กับธุรกิจ ลองดูรูปแบบบริการของ Social Commerce ที่เหมาะสมแล้วเลือกใช้ให้เต็มที่ รับรองว่า ช่องทางเหล่านี้จะช่วยสร้างกำไรให้กับธุรกิจได้อย่างแน่นอน

คุณสนใจใช้ LINE Official Account เพื่อทำ Social Commerce อยู่หรือเปล่า?

สำหรับใครที่ต้องการเลือกเริ่มต้นทำ Social Commerce บนช่องทางออนไลน์ยอดนิยมอย่าง LINE OA เราพร้อมให้คำปรึกษา ออกแบบ และวางแผนการใช้ LINE OA เพื่อธุรกิจ หากสนใจปรึกษาเราก่อนตัดสินใจ สามารถทักมาได้เลยที่ :

บทความอื่นๆ

Chat Commerce

เจาะลึก Gen Z พร้อม 7 กลยุทธ์การตลาดให้เข้าถึงหัวใจของคนรุ่นใหม่

ในปัจจุบันนี้ Gen Z หรือคนรุ่นใหม่ในวัยรุ่นถึงวัยเริ่มทำงาน ถือเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญที่หลายแบรนด์กำลังจับตามองและให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เหตุผลก็คงไม่พ้นเพราะ Gen Z

Update UXUI trend to help you grow your business this year 2024
DesignTrends

ส่องเทรนด์ UXUI Design ปี 2024 เทรนด์แบบไหน ดึงดูดลูกค้าของคุณ

ปี 2024 คือยุคที่ UXUI ไม่ได้มีไว้เพียงแค่สวยงามและใช้งานง่าย แต่ต้องสามารถสร้างเอกลักษณ์และผูกพันกับผู้ใช้อีกด้วย บทความนี้ไปดูเทรนด์ UI ใหม่ล่าสุด ที่จะช่วยให้แบรนด์ของคุณมีดีไซน์โดดเด่น น่าประทับใจ และครองใจลูกค้าให้ยังคงหลงใหลเว็บไซต์ของคุณอยู่เสมอ

Article thumbnail for topic what is social commerce
B2C

Social Commerce ช่องทางบริการลูกค้าออนไลน์ที่ใครๆ ก็ทำได้ พร้อม 3 เทคนิคทำอย่างไรให้ปัง

รู้หรือไม่ว่า…ปัจจุบัน Social Media ไม่ได้มีไว้แค่อัปเดตหรือส่งโปรโมชั่นให้กับลูกค้าเพียงอย่างเดียว แต่คุณยังสามารถปิดการขายสินค้า หรือบริการผ่านช่องทางแชททันที โดยที่คุณไม่ต้องมีหน้าร้านให้ยุ่งยาก ไม่ต้องเสียเวลาสร้างหน้าเว็บไซต์ เพียงแค่ใช้ Social Commerce พร้อม 3 เทคนิคทำอย่างไรให้ปัง!

DON MUANG TOLLWAY 

Visioning Workshop

Client’s objective :

To create a system that will collect useful customer information that DMT can leverage for future campaigns or enhancements

Omelet’s deliverables :

  • Conduct visionary workshop with DMT’s executives and employees on possible features that DMT should include in their system
  • Design system blueprint for DMT to pitch to their board for system development

AMWAY THAILAND

One LINE OA for ALL

Client’s objective :

To develop Amway’s LINE OA to serve 4 strategic areas; social commerce, CRM, personal management and network expansion

Omelet’s deliverables :

  • Features co-creation; Product purchasing, Basket recommendations, and Agents’ goal tracking
  • UX/UI design and interview Amway’s customers to test recommended features​
  • Develop Dynamic Richmenu that allow multiple users type (Agents/Customers) to interact within one LINE OA while collecting behavioral activities​

PRUDENTIAL THAILAND 

Online Insurance Responsive Website

Client’s objective :

To design an engaging customer experience for Prudential’s new online insurance website considering both consumers’ engagement and Prudential’s longstanding heritage as well as optimizing for mobile-first experience

Omelet’s deliverables :

  • User testing interview and results summary
  • UX/UI design for all insurance service functions
  • Responsive website for both desktop and mobile

STASHAWAY THAILAND

Zendesk Integration

Client’s objective :

To connect LINE OA to the existing customer service software; Zendesk, to serve customers based in Thailand

Omelet’s deliverables :

  • Integration system from LINE to Zendesk
  • Design user-friendly UX/UI for StashAway’s customers to log in and contact admin via LINE OA

DEPA THAILAND

Realtime COVID-19 Updates

Client’s objective :

To create a website that monitors and displays realtime statistics and data regarding the COVID-19 pandemic

Omelet’s deliverables :

  • Design and Develop a user-friendly Responsive Website on both desktop and mobile, helps creating a better well-being for Thais during the pandemic